สาเหตุของผมร่วงในผู้ชาย เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่กับคนไทยมานานตั้งแต่ในอดีต โดยเฉพาะในกับผู้ชายที่เกิดขึ้นมากกว่าในผู้หญิง นอกจากนั้นยังมีโอกาสเกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านได้ง่ายกว่าด้วย แต่จะมีการอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกันและในผู้ชายจะเกิดขึ้นเฉพาะด้านหน้าและด้านบนเท่านั้น
ในขณะที่ผมด้านข้างและท้ายทอยจะไม่ค่อยหลุดร่วง โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากด้านหน้า หรือที่เรียกกันว่า หัวเถิก จากนั้นก็จะเกิดขึ้นตรงกลางกระหม่อม ผมบริเวณนั้นจะเริ่มบางลงมีลักษณะเป็นเหมือนไข่ดาว เมื่อปล่อยไว้โดยไม่รักษาผมจะร่วงไปเรื่อย ๆ จนสองส่วนนี้ เลื่อนเข้ามาชนกันศีรษะจะมีลักษณะเหน่งกลายเป็น คนหัวล้าน ในที่สุด ซึ่งกว่าจะถึงขั้นนี้อาจใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เกิดช้าเร็วไม่เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม สาเหตุผมร่วง ในผู้ชาย สามารถแบ่งได้ออกเป็น 7 ระยะใหญ่ๆ ได้แก่
- ระยะที่ 1 เป็นลักษณะของผมปกติยังมีความดกดำจนสังเกตเห็นได้ยาก
- ระยะที่ 2 ผมเริ่มหลุดร่วงจากแนวผมทางด้านขมับทั้ง 2 ข้างซ้ายขวา
- ระยะที่ 3 ผมหลุดร่วงมากขึ้นจนศีรษะเกือบเถิกและมีผมร่วงกลางกระหม่อมบ้าง
- ระยะที่ 4 ศีรษะเถิกมากขึ้นในรอบด้าน โดยเฉพาะด้านข้างและด้านหน้า
- ระยะที่ 5 ศีรษะเถิกมากขึ้นและกระหม่อมเริ่มบางลงจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน
- ระยะที่ 6 ผมหลุดร่วง จนศีรษะเถิกด้านหน้าและบริเวณกลางกระหม่อมเริ่มมาชนกัน
- ระยะที่ 7 ศีรษะล้านอย่างสมบูรณ์ อาจมีไรผมเหลืออยู่บ้าง
สำหรับ สาเหตุของผมร่วงในผู้ชาย นั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุได้แก่
- พันธุกรรม เกิดขึ้นจากการได้รับการถ่ายทอดยีนที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยพบว่าภาวะหัวล้านเกี่ยวข้องเป็นยีนที่ได้รับถ่ายทอดมาทั้งจากทางพ่อและทางแม่ก็ได้ ดังนั้นหากมีประวัติคนในครอบครัวมีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือหัวล้าน อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้และส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่ถาวร แต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น ความเครียด การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อายุ และการทานยารักษาโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ฮอร์โมน (Hormones) เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนไดไฮโรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งปกติในร่างกายของเพศชายจะมีการสร้าง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือ ฮอร์โมนเพศชาย จากต่อมลูกหมาก และ อัณฑะ ในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลแตกต่างกัน จากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลง ไปเป็น ฮอร์โมนไดไฮโรเทสโทสเตอโรน การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้เส้นผมอ่อนแอ ไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย งอกใหม่ได้ช้าและเติบโตได้ไม่เต็มที่ สาเหตุผมร่วง ชนิดนี้จะทำให้เส้นผมบนศีรษะบาง และรากผมอ่อนแอจนเส้นผมไม่สามารถงอกใหม่ได้ นอกจากการทำงานที่ผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น ผู้ป่วยที่เป็น Hyperthyroid หรือ Hypothyroid ก็มักจะมีปัญหาเรื่องผมร่วง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโรเทสโทสเตอโรนอย่างรวดเร็ว
- อายุ จากการศึกษาพบว่าอายุที่เพิ่มมากขึ้นระบบการไหลเวียนของเลือดที่เลี้ยงอยู่บริเวณหนังศีรษะจะน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้รากผมทำงานน้อยลงตามไปด้วย รวมทั้งยังมีความเสื่อมของเซลล์บนหนังศีรษะ ทำให้โพรงเส้นผมหดตัว ทำให้เส้นผมมีขนาดและความยาวลดลง
- การใช้ยาบ้างชนิด เช่น ยารักษาโรคมะเร็งหรือยาเคมีบำบัด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาความดันยาปรับฮอร์โมน ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาป้องกันอาการชัก และยารักษาอาการซึมเศร้า รวมถึงการได้รับวิตามิน A มากเกินไปก็มีผลทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน แต่อาการผมร่วงมักหายไปหลังจากหยุดยาแล้ว
- มีภาวะเป็นโรคบ้างชนิด เช่น มีปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะ โรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคซิฟิลิส หรือโรคไต เป็นต้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดหรือเพิ่งหายจากอาการเจ็บป่วยก็อาจเผชิญกับอาการผมร่วงได้ โดยเกิดจากผลข้างเคียงของโรคหรือยารักษา
- ภาวะขาดโภชนาการ เป็นอีกหนึ่ง สาเหตุผมร่วง ที่สำคัญเนื่องจากการขาดสารอาหารบ้างประเภทจะส่งผลให้ผมไม่แข็งแรงและหลุดร่วงได้ รวมทั้งยังทำให้ผมหงอกเร็วขึ้น สารอาหารที่สำคัญในการบำรุงเส้นผม ได้แก่ ไบโอติน วิตามิน บี 12 วิตามิน บี 3 วิตามินซี วิตามินอี วิตามินดี สังกะสี และธาตุเหล็ก
- ความเครียด สาเหตุสำคัญที่หลายคนมักนึกถึงเมื่อเห็นว่าตัวเองมีอาการผมร่วง ซึ่งความเครียดที่ทำให้ผมร่วงนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ Telogen Effluvium เป็นความเครียดชนิดรุนแรง จะส่งผมให้รากผมที่กำลังเจริญเติบโตหยุดการเจริญอย่างกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการร่วงในช่วง 2-3 เดือนแรก แต่จะกลับมางอกใหม่อีกครั้งหลังจากนั้นประมาณ 6-9 เดือน ประเภทที่ 2 คือ Alopecia Areata เป็นอาการผมร่วงที่เกิดจากความเครียดชนิดที่รุนแรงกว่าประเภทแรก ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายรูขุมขนบนหนังศีรษะ ทำให้ผมร่วงเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 5 จะหัวล้านในที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นเมื่ออาการทุเลาลงผมสามารถงอกใหม่ได้เช่นกัน
สำหรับวิธีการรักษาอาการผมร่วงในผู้ชายนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การใช้ ยารักษาผมร่วงผู้ชาย การศัลยกรรมหนังศีรษะ การทำเลเซอร์ หรือใส่วิกผมเพื่อช่วยปกปิด อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการผมร่วงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลาม ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือความสะอาด ต้องหมั่นทำความสะอาดผมอยู่เสมอ และควรเลือกใช้แชมพูรวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตราย ทางที่ดีควรเลือกใช้ แชมพูสูตรสมุนไพร เพราะนอกจากปลอดภัยและอ่อนโยนต่อเส้นผมและหนังศีรษะแล้ว ยังช่วยบำรุงรักษาและเร่งการงอกของเส้นผมใหม่ทำให้ผมดูหนาและดกดำยิ่งขึ้น